8 สาเหตุทำไมผู้ชายหัวล้าน

1. กรรมพันธุ์
ปัญหาศีรษะล้านของผู้ชายที่เกิดขึ้นจาก “กรรมพันธุ์” ส่วนใหญ่พบว่าจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างถาวร และ เริ่มแรกผมจะเส้นเล็กลง ร่วงง่าย ผมที่ขึ้นใหม่ไม่แข็งแรง จนผมบางเห็นหนังศีรษะ บริเวณที่เห็นหนังศีรษะจะกว้าง ขึ้นเรื่อยๆจนทำให้เกิดรากผมฝ่อ เป็นหัวล้านกรรมพันธุ์ขึ้นมา
 
2. ไทรอยด์
ภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างไทรอยด์ฮอร์โมนได้ไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายทุกส่วนทำงานเชื่องช้า เนื่องจากขาดไทรอยด์ ฮอร์โมนไปกระตุ้นให้เกิดการเผาผลาญพลังงานให้เซลล์ และเนื้อเยื่อต่างๆ นอกจากนี้ยังส่งผลให้เส้นผมที่ศีรษะร่วง และ อาจมีผลต่อเส้นขนทุกส่วนของร่างกาย
 
3. อายุ (Age)
เมื่อมีอายุมากขึ้นการไหลเวียนของเลือดที่เลี้ยงอยู่บริเวณหนังศีรษะจะลดน้อยลง รากผมมีการทำงานที่น้อยลง และมีความเสื่อมของเซลล์หนังศีรษะ ทำให้รากผมหดตัว ส่งผลให้ขนาด และ ความยาวของเส้นผมเติบโตไม่เต็มที่เหมือนช่วงวัยเจริญพันธ์
 
4. เทสโทสเตอโรน
เทสโทสเตอโรนจะถูกสร้างขึ้นจากต่อมลูกหมาก และ อัณฑะ ผู้ชายจะมีการเปลี่ยนแปลงจาก ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ไปเป็น ฮอร์โมนไดไฮโรเทสโทสเตอโรน (DHT) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเส้นผมของผู้ชาย ทำให้เส้นผมอ่อนแอ ไม่แข็งแรง หลุดร่วงง่าย การเกิดใหม่ของเส้นผมก็จะช้าลง อีกด้วย
 
5. ยาและการฉายรังสี
มียาหลายประเภทที่ทำให้เกิดอาการผมร่วง เช่น ยารักษามะเร็ง ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ยาในกลุ่มลดความดัน ยาเกี่ยวกับฮอร์โมน ยารักษาโรคไทรอยด์ ยาป้องกันอาการชัก ยาดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดอาการผมร่วงแบบฉับพลัน เมื่อหยุดใช้ยา อาการผมร่วงก็จะหายไปได้เอง และ การฉายรังสีในการรักษามะเร็ง หรือ การใช้เคมีบำบัดก็เป็นสาเหตุที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของการเกิดอาการผมร่วง
 
6. ความเครียด
ความเครียดจะส่งผลทำให้เกิดอาการผมร่วงได้ 2 ประเภท คือ
1). Telogen Effluvium เป็นความเครียดชนิดรุนแรง ทำให้รากผมที่อยู่ในระยะการเจริญเติบโต (Growing phase) มีสภาวะพักการทำงานอย่างกะทันหัน ส่งผลให้เส้นผมร่วงในช่วง 2-3 เดือนแรก หลังจากนั้นประมาณ 6-9 เดือน เส้นผมจะเริ่มขึ้นมาตามปกติ
2). Alopecia Areata เป็นอาการผมร่วงจากความเครียดที่รุนแรงกว่าประเภทแรก เม็ดเลือดขาวจะเข้าไปทำลายรูขุมขนบริเวณหนังศีรษะ ทำให้เส้นผมร่วงเยอะมากในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ เริ่มจากลักษณะวงกลมเล็กๆ แล้วขยายวงใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ กรณีนี้เส้นผมขึ้นมาเหมือนเดิมได้ แต่ในบางคนอาจจะต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
 
7. โรคต่างๆ
ผู้ป่วยที่เป็นโรคบางอย่าง จะมีผลกระทบของโรคที่แตกต่างกันออกไป โดยโรคที่เป็นแล้วจะทำให้เกิดอาการผมร่วงได้ เช่น โรงเชื้อราบนหนังศีรษะ, โรคทางต่อมไทรอยด์, โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง, โรคซิฟิลิส, โรคไต เป็นต้น
 
8. ขาดสารอาหาร
เช่น วิตามิน B รวม ที่พบมากใน ยีสต์ และ โยเกิร์ต รวมไปถึงสารอาหารประเภทโปรตีน หากขาดสารอาหารเหล่านี้ จะก่อให้เกิดอาการผมร่วง ผมบาง ผมเปราะบาง อีกทั้งมีสีผมที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะสารอาหารเหล่านี้เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม และ หากร่างกายได้รับ วิตามิน A ที่มากเกินกว่าปกติ ก็จะส่งผลทำให้ผมงอกช้า มีอาการผมร่วงได้เช่นกัน