Testosterone ฮอร์โมนแห่งความเป็นชาย

เทสโทสเตอโรน คือ ฮอร์โมนเพศชาย
ที่ร่างกายสามารถสร้างได้เอง
จากอัณฑะตั้งแต่กำเนิด
มีการผลิตสูงสุดเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น
และลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ตอนปลาย

จากงานวิจัยพบว่าเมื่อคุณผู้ชาย
อายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไป
เทสโทสเตอโรนจะลดลงอย่างน้อยปีละ 1%
ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อร่างกาย และจิตใจ เช่น

– สมรรถภาพทางเพศลดลง
– อ้วนลงพุง
– กล้ามเนื้อฝ่อลีบ
– อ่อนเพลียง่าย
– ประสิทธิภาพในการนอนลดลง
– ขาดแรงจูงใจ
– สมาธิสั้นลด

อาการและอาการแสดงดังกล่าว
ถือได้ว่าเป็นสัญญาณเตือน
ของภาวะเทสโทสเตอโรนในร่างกายต่ำกว่าปกติ
(ค่าปกติในเพศชาย 300-1,000 นาโนกรัมต่อเดซิลิตร)
จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
ที่จะต้องเข้าปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
เพื่อการวินิจฉัย และการรักษาที่ถูกต้อง

ขั้นตอนการรักษาที่เอ็มคลินิก

1. เข้าปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
เพื่อประเมินอาการ และความรุนแรงเบื้องต้น
2. ตรวจวัดระดับฮอร์โมนในกระแสเลือด
3. แจ้งผลการตรวจเลือด (ภายใน 24 ชั่วโมง)
4. พบแพทย์และวางแผนแนวทางการรักษาติดตามประเมินอาการอย่างต่อเนื่อง


 

ฮอร์โมนเพศชายทดแทน

โปรแกรมเสริมฮอร์โมนเพศชายที่ M Clinic ตัวยาผ่านการรับรองจาก Thai FDA (อย.)

ปัจจุบันทางการแพทย์ฮอร์โมนเพศชายทดแทนมีอยู่หลากหลายวิธี

ได้แก่ กิน ทา และฉีด
ซึ่งแต่ละวิธีมีข้อบ่งชี้ ข้อดี
และผลข้างเคียงที่แตกต่างกันออกไป
แพทย์จะให้คำแนะนำและตัดสินใจการรักษาร่วมกับผู้รับบริการ

1. กิน
ข้อดี สะดวก ประหยัด
ข้อเสีย ส่งผลเสียต่อตับ ได้ผลช้า ต้องมีระเบียบในการรับประทาน

2. ทา
ข้อดี สะดวก
ข้อเสีย ทาทุกวันและต้องรอให้แห้งก่อนใส่เสื้อผ้า

3. ฉีด
ข้อดี ยาออกฤทธิ์ได้ทันที สามารถปรับขนาดยาขึ้นลงได้ ระดับฮอร์โมนไม่เหวี่ยง
ข้อเสีย เจ็บขณะฉีดในระดับที่ทนได้

 

คำถามที่พบบ่อย

1. ไม่มีภาวะเทสโทสเตอโรนในร่างกายต่ำสามารถฉีดเทสโทสเตอโรนได้ไหม?
ตอบ ได้ครับ เพราะนอกจากเทสโทสเตอโรนจะรักษาภาวะดังกล่าวแล้ว
ยังส่งผลดีต่อการออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
กล้ามเนื้อเห็นชัดมากขึ้น และรู้สึกระฉับกระเฉง

2. จำเป็นต้องตรวจวัดระดับเทสโทสเตอโรนในเลือดหรือไม่?
ตอบ จำเป็นครับ แพทย์จะส่งตรวจ ระดับเทสโทสเตอโรน (Testosterone)
ค่าความเข้มข้นของเลือด (Hematocrit)
ลูติไนซิ่งฮอร์โมน (Luteinizing hormone)
และค่าเอมไซต่อมลูกหมาก (PSA) เพื่อประเมินระดับความรุนแรง
และผลการรักษาที่แม่นยำ

3. ต้องตรวจวัดระดับเทสโทสเตอโรนในเลือดบ่อยแค่ไหน?
ตอบ ควรตรวจวัดทุก 3-6 เดือน เพื่อประเมินผลและปรับแผนการรักษา

4. ความถี่ของการฉีด
ตอบ เฉลี่ยทุก 1 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับของเทสโทสเตอโรน
ในเลือดของผู้รับบริการแต่ละคน ซึ่งไม่เท่ากันดังนั้นแพทย์
จะเป็นผู้วางแผนการรักษา

5. ผลข้างเคียงของเทสโทสเตอโรน
ตอบ อาการปวดบวมแดงบริเวณที่ฉีด สิวขึ้น ภาวะซึมเศร้า หรืออาการแพ้รุนแรง
ดังนั้นต้องได้รับการฉีดและติดตามอาการโดยแพทย์
เอ็มคลินิกเลือกใช้เทสโทสเตอโรนที่ได้รับการรับรองโดย อย.ไทย
ได้มาตรฐานสากล ซึ่งเป็นชนิดที่ออกฤทธิ์ทันที ผลข้างเคียงน้อย
ร่วมกับแพทย์เป็นผู้ดูแลผู้รับบริการด้วยตนเองทุกเคส