Testosterone ฮอร์โมนแห่งความเป็นชาย

Testosterone ฮอร์โมนแห่งความเป็นชาย

เทสโทสเตอโรน คือ ฮอร์โมนเพศชาย
ที่ร่างกายสามารถสร้างได้เอง
จากอัณฑะตั้งแต่กำเนิด
มีการผลิตสูงสุดเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น
และลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ตอนปลาย

จากงานวิจัยพบว่าเมื่อคุณผู้ชาย
อายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไป
เทสโทสเตอโรนจะลดลงอย่างน้อยปีละ 1%
ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อร่างกาย และจิตใจ เช่น

– สมรรถภาพทางเพศลดลง
– อ้วนลงพุง
– กล้ามเนื้อฝ่อลีบ
– อ่อนเพลียง่าย
– ประสิทธิภาพในการนอนลดลง
– ขาดแรงจูงใจ
– สมาธิสั้นลด

อาการและอาการแสดงดังกล่าว
ถือได้ว่าเป็นสัญญาณเตือน
ของภาวะเทสโทสเตอโรนในร่างกายต่ำกว่าปกติ
(ค่าปกติในเพศชาย 300-1,000 นาโนกรัมต่อเดซิลิตร)
จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
ที่จะต้องเข้าปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
เพื่อการวินิจฉัย และการรักษาที่ถูกต้อง

ขั้นตอนการรักษาที่เอ็มคลินิก

1. เข้าปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
เพื่อประเมินอาการ และความรุนแรงเบื้องต้น
2. ตรวจวัดระดับฮอร์โมนในกระแสเลือด
3. แจ้งผลการตรวจเลือด (ภายใน 24 ชั่วโมง)
4. พบแพทย์และวางแผนแนวทางการรักษาติดตามประเมินอาการอย่างต่อเนื่อง


 

ฮอร์โมนเพศชายทดแทน

โปรแกรมเสริมฮอร์โมนเพศชายที่ M Clinic ตัวยาผ่านการรับรองจาก Thai FDA (อย.)

ปัจจุบันทางการแพทย์ฮอร์โมนเพศชายทดแทนมีอยู่หลากหลายวิธี

ได้แก่ กิน ทา และฉีด
ซึ่งแต่ละวิธีมีข้อบ่งชี้ ข้อดี
และผลข้างเคียงที่แตกต่างกันออกไป
แพทย์จะให้คำแนะนำและตัดสินใจการรักษาร่วมกับผู้รับบริการ

1. กิน
ข้อดี สะดวก ประหยัด
ข้อเสีย ส่งผลเสียต่อตับ ได้ผลช้า ต้องมีระเบียบในการรับประทาน

2. ทา
ข้อดี สะดวก
ข้อเสีย ทาทุกวันและต้องรอให้แห้งก่อนใส่เสื้อผ้า

3. ฉีด
ข้อดี ยาออกฤทธิ์ได้ทันที สามารถปรับขนาดยาขึ้นลงได้ ระดับฮอร์โมนไม่เหวี่ยง
ข้อเสีย เจ็บขณะฉีดในระดับที่ทนได้

 

คำถามที่พบบ่อย

1. ไม่มีภาวะเทสโทสเตอโรนในร่างกายต่ำสามารถฉีดเทสโทสเตอโรนได้ไหม?
ตอบ ได้ครับ เพราะนอกจากเทสโทสเตอโรนจะรักษาภาวะดังกล่าวแล้ว
ยังส่งผลดีต่อการออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
กล้ามเนื้อเห็นชัดมากขึ้น และรู้สึกระฉับกระเฉง

2. จำเป็นต้องตรวจวัดระดับเทสโทสเตอโรนในเลือดหรือไม่?
ตอบ จำเป็นครับ แพทย์จะส่งตรวจ ระดับเทสโทสเตอโรน (Testosterone)
ค่าความเข้มข้นของเลือด (Hematocrit)
ลูติไนซิ่งฮอร์โมน (Luteinizing hormone)
และค่าเอมไซต่อมลูกหมาก (PSA) เพื่อประเมินระดับความรุนแรง
และผลการรักษาที่แม่นยำ

3. ต้องตรวจวัดระดับเทสโทสเตอโรนในเลือดบ่อยแค่ไหน?
ตอบ ควรตรวจวัดทุก 3-6 เดือน เพื่อประเมินผลและปรับแผนการรักษา

4. ความถี่ของการฉีด
ตอบ เฉลี่ยทุก 1 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับของเทสโทสเตอโรน
ในเลือดของผู้รับบริการแต่ละคน ซึ่งไม่เท่ากันดังนั้นแพทย์
จะเป็นผู้วางแผนการรักษา

5. ผลข้างเคียงของเทสโทสเตอโรน
ตอบ อาการปวดบวมแดงบริเวณที่ฉีด สิวขึ้น ภาวะซึมเศร้า หรืออาการแพ้รุนแรง
ดังนั้นต้องได้รับการฉีดและติดตามอาการโดยแพทย์
เอ็มคลินิกเลือกใช้เทสโทสเตอโรนที่ได้รับการรับรองโดย อย.ไทย
ได้มาตรฐานสากล ซึ่งเป็นชนิดที่ออกฤทธิ์ทันที ผลข้างเคียงน้อย
ร่วมกับแพทย์เป็นผู้ดูแลผู้รับบริการด้วยตนเองทุกเคส

7 สัญญาณวัยทองในเพศชาย

Check Lists ที่ต้องสังเกต ใครว่าผู้ชายเป็นวัยทองไม่ได้ ?!
โปรดระวัง! หากคุณมีพฤติกรรมเหล่านี้


วัยทองในผู้ชายไม่ใช่เรื่องแปลก ผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 40 – 65 ปี ที่เข้าสู่การเปลี่ยนแปลงของระบบสืบพันธุ์ ร่างกายเริ่มเสื่อมถอย การทำงานของอวัยวะและฮอร์โมนต่างๆ ลดถอยลง ทำให้ผู้ชายบางคนเกิดโรคหรือมีสภาวะ ผิดปกติทั้งร่างกาย จิตใจ อาการจะพบมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการดูแลสุขภาพของแต่ละบุคคล

 

การวินิจฉัยตนเองว่า “วัยทอง”
มาเยือนหรือยังไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก เพียงคุณสังเกตว่าตัวคุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่ ?

  • นอนไม่หลับ
  • มีอาการซึมเศร้า
  • ผมบาง
  • เหนื่อยง่าย ไม่กระฉับกระเฉง
  • อวัยวะเพศไม่แข็งตัว
  • อ้วนลงพุง
  • กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง
รับมือวัยทองในผู้ชายอย่างถูกวิธี

1.ออกกำลังกาย

ควรเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ เช่น แขน ขา ลำตัว เป็นจังหวะซ้ำกันต่อเนื่อง โดยออกแรงปานกลาง ใช้เวลาอย่างน้อย 30 นาทีต่อเนื่อง หรือสะสมครั้งละ 10 นาที พยายามทำทุกวันหรือเกือบทุกวัน

2.รับประทานอาหารที่ช่วยฟื้นฟูและบำรุงสุขภาพทางเพศ และมีความหลากหลาย

เช่น กรดอะมิโน L-arginine มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะเพศได้เพิ่มขึ้น พบในเนื้อสัตว์ ส่วนที่เป็นเนื้อแดง สัตว์ปีก ทูน่า ปลาแซลมอน กุ้ง ปู พืชตระกูลถั่ว ผักโขม ไข่แดง เป็นต้น ธาตุสังกะสี Zinc มีบทบาทสำคัญในการบำรุงสุขภาพทางเพศ ช่วยสร้างฮอร์โมนเพศชายและอสุจิ บำรุงต่อมลูกหมาก พบได้ใน หอยนางรม จมูกข้าว งา เนื้อสัตว์ ตับ ช็อคโกแลต เมล็ดแตงโม ถั่วต่างๆ และนอกจากนี้ยังมี วิตามินและสารอาหารอีกหลายชนิด เช่น วิตามินบี วิตามินซี ธาตุโครเมี่ยม โฟลิก หรือสมุนไพรต่าง ๆ เช่น ใบแปะก๊วย โสมเกาหลี ซึ่งในอาหารหลายชนิดประกอบไปด้วยสารอาหารที่สามารถช่วยบำรุงสุขภาพทางเพศได้

3.รักษาด้วยการฉีดฮอร์โมนเสริม

สำหรับการรักษาด้วยฮอร์โมน (Hormonal replacement therapy) ต้องได้รับการประเมินและการรักษาภายใต้ความดูแลของแพทย์เท่านั้น จะได้ผลที่ดีและไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย และจำเป็นต้องใช้ฮอร์โมน Testosterone ที่ผ่านการรับรองโดย อย.ไทย หรือ FDA ที่ได้มาตรฐานสากล ซึ่งเป็นชนิดที่ออกฤทธิ์ทันที ผลข้างเคียงน้อยที่สุด