7 สัญญาณวัยทองในเพศชาย

Check Lists ที่ต้องสังเกต ใครว่าผู้ชายเป็นวัยทองไม่ได้ ?!
โปรดระวัง! หากคุณมีพฤติกรรมเหล่านี้


วัยทองในผู้ชายไม่ใช่เรื่องแปลก ผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 40 – 65 ปี ที่เข้าสู่การเปลี่ยนแปลงของระบบสืบพันธุ์ ร่างกายเริ่มเสื่อมถอย การทำงานของอวัยวะและฮอร์โมนต่างๆ ลดถอยลง ทำให้ผู้ชายบางคนเกิดโรคหรือมีสภาวะ ผิดปกติทั้งร่างกาย จิตใจ อาการจะพบมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการดูแลสุขภาพของแต่ละบุคคล

 

การวินิจฉัยตนเองว่า “วัยทอง”
มาเยือนหรือยังไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก เพียงคุณสังเกตว่าตัวคุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่ ?

  • นอนไม่หลับ
  • มีอาการซึมเศร้า
  • ผมบาง
  • เหนื่อยง่าย ไม่กระฉับกระเฉง
  • อวัยวะเพศไม่แข็งตัว
  • อ้วนลงพุง
  • กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง
รับมือวัยทองในผู้ชายอย่างถูกวิธี

1.ออกกำลังกาย

ควรเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ เช่น แขน ขา ลำตัว เป็นจังหวะซ้ำกันต่อเนื่อง โดยออกแรงปานกลาง ใช้เวลาอย่างน้อย 30 นาทีต่อเนื่อง หรือสะสมครั้งละ 10 นาที พยายามทำทุกวันหรือเกือบทุกวัน

2.รับประทานอาหารที่ช่วยฟื้นฟูและบำรุงสุขภาพทางเพศ และมีความหลากหลาย

เช่น กรดอะมิโน L-arginine มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะเพศได้เพิ่มขึ้น พบในเนื้อสัตว์ ส่วนที่เป็นเนื้อแดง สัตว์ปีก ทูน่า ปลาแซลมอน กุ้ง ปู พืชตระกูลถั่ว ผักโขม ไข่แดง เป็นต้น ธาตุสังกะสี Zinc มีบทบาทสำคัญในการบำรุงสุขภาพทางเพศ ช่วยสร้างฮอร์โมนเพศชายและอสุจิ บำรุงต่อมลูกหมาก พบได้ใน หอยนางรม จมูกข้าว งา เนื้อสัตว์ ตับ ช็อคโกแลต เมล็ดแตงโม ถั่วต่างๆ และนอกจากนี้ยังมี วิตามินและสารอาหารอีกหลายชนิด เช่น วิตามินบี วิตามินซี ธาตุโครเมี่ยม โฟลิก หรือสมุนไพรต่าง ๆ เช่น ใบแปะก๊วย โสมเกาหลี ซึ่งในอาหารหลายชนิดประกอบไปด้วยสารอาหารที่สามารถช่วยบำรุงสุขภาพทางเพศได้

3.รักษาด้วยการฉีดฮอร์โมนเสริม

สำหรับการรักษาด้วยฮอร์โมน (Hormonal replacement therapy) ต้องได้รับการประเมินและการรักษาภายใต้ความดูแลของแพทย์เท่านั้น จะได้ผลที่ดีและไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย และจำเป็นต้องใช้ฮอร์โมน Testosterone ที่ผ่านการรับรองโดย อย.ไทย หรือ FDA ที่ได้มาตรฐานสากล ซึ่งเป็นชนิดที่ออกฤทธิ์ทันที ผลข้างเคียงน้อยที่สุด

4 พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้”ผมบาง”

“หยุดพฤติกรรมเหล่านี้” ก่อนจะสายเกินแก้ การมีเส้นผมสวย ดกดำแลดูหนาและสุขภาพดี เป็นสิ่งที่ทุกคนอยากจะมี ปัญหาเส้นผมอาจฟังดูเล็กน้อยแต่เชื่อหรือไม่ว่าสิ่งนี้ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจต่อคนจำนวนมาก วันนี้ เรารวบรวมพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำแล้วจะทำให้เกิดปัญหาผมบาง ขาดหลุดร่วงได้ หากคุณเป็นคนที่มีพฤติกรรมดังกล่าว ให้รีบระวังความเสี่ยง ผมร่วง ผมบาง ได้!


1.ขาดสารอาหาร

การได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผมร่วง โดยเฉพาะคนที่กินอาหารไม่ปกติ งดหรือตัดอาหารบางชนิดมากๆ จำกัดโปรตีน จำกัดปริมาณแป้ง ไม่ทานผักและผลไม้ ทานอาหารน้อยเกินไป ลดน้ำหนักเร็วเกินไป หรือ ลดน้ำหนักแบบผิดวิธี ซึ่งพฤติกรรมด้านโภชนาการแบบนี้ หากทำติดต่อกันอาจทำให้เส้นผมเปราะ หัก และหลุดร่วงได้ง่ายอาการผมร่วงจากความบกพร่องด้านโภชนาการนั้น ส่วนนึงเกิดจากการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ โดยเฉพาะ กลุ่มวิตามินบี ได้แก่ วิตามินบี 3, บี 5, บี 6, และบี 7 (ไบโอติน) ธาตุเหล็กและ สังกะสี


2.นอนทั้งที่ผมเปียก หรือ ปล่อยให้ผมแห้งเอง

เมื่อเรานอนหลับในขณะที่ผมเปียก ความชื้นที่อยู่ในเส้นผมสามารถทำให้หนังศีรษะ เกิดการอักเสบและทำให้เกิดอาการคันบนหนังศีรษะได้ และหากเกิดอาการคันมากๆ จนเกาบ่อยๆ ก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อ และทำให้หนังศีรษะลอกและเป็นแผลได้ จะทำให้เกิดความชื้นและอาจติดเชื้อรา ซึ่งก็จะทำให้รูขุมขนอุดตันและเป็นรังแค อีกทั้งยังทำให้เส้นผมอ่อนแอ และมีโอกาสทำให้ผมหลุดร่วงได้ง่ายด้วย


3.ความเครียดสะสม

ถึงแม้ความเครียดจะส่งผลทางอ้อมต่อระบบการเจริญเติบโตของเส้นผม แต่ก็สามารถทำให้ หมดความมั่นใจไปกับปัญหาผมบางได้ไม่รู้ตัว ยิ่งวัยทำงานหลายคนอาจมองข้ามเรื่องความเครียดกับเส้นผมไป ส่งผลให้เกิดอาการหลายอย่างต่อร่างกายรวมถึงผมร่วง ไม่ว่าจะเป็น อาการผมร่วงทั่วหนังศีรษะ หรือ อาการผมร่วงเป็นหย่อม ในบางรายอาจมีอาการเครียดและต้องระบายผ่านการดึงผม ทำให้เกิดปัญหาผมร่วงในที่สุด ผู้ป่วยบางรายมีความเครียดสะสมต่อเนื่อง ทำให้มีอาการผมร่วงติดต่อกันเป็นเวลานาน ยากต่อการแก้ไข จำเป็นต้องรับการปรึกษาทั้งจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเส้นผมและหนังศีรษะ และจากจิตแพทย์ร่วมด้วย


4.สูบบุหรี่จัด

บุหรี่ทำร้ายเส้นผม ควันจากบุหรี่ไม่ได้เพียงแค่ทำลายปอดของเราเท่านั้น เส้นผมเปราะบาง ดูไม่มีชีวิตชีวา เพราะนิโคตินในบุหรี่จะทำให้เส้นเลือดหดตัว เป็นเหตุให้ ออกซิเจนไปเลี้ยงที่หนังศีรษะไม่พอ แล้วเส้นผมจะแข็งแรงได้ยังไงกัน  บุหรี่ทำลายต่อมของเส้นผมโดยตรง ทำลายเซลล์รากผมและฮอร์โมนที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผม และเพิ่มการสร้างฮอร์โมนที่ทำให้มีการผลิตสาร (DHT) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดผมร่วงในผู้ชายมากขึ้น คนสูบบุหรี่มีอัตราการร่วงของเส้นผมเร็วกว่าคนที่ไม่สูบ ทำให้เกิดปัญหาศีรษะล้าน หรือผมบางเร็ว เพราะบุหรี่มีผลต่อระบบหมุนเวียนโลหิต ที่ไปเลี้ยงเซลล์ผมที่หนังศีรษะ